วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่่าวดี !! โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์


ข่าวดีสำหรับผู้ผลิตผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์มือใหม่ ที่ต้องการพี่เลี้ยงช่วยให้คำปรึกษาระยะเวลาหนึ่ง โดยการริเริ่มของ GTZ และสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย (TOTA) มีรายละเอียดดังนี้

เรียน ทุกท่าน
 
เนื่องจากทาง GTZ ร่วมกับสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ (TOTA) จะจัดกิจกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์  โดยกิจกรรมหลักประกอบการด้วย  ชุดการฝึกอบรม (หลักสูตรผู้บริการ หลักสูตรผู้จัดการฟาร์ม  หลักสูตรการติดตามประเมินผล) จำนวน  4-5 ครั้ง  การศึกษาดูงาน และการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจนถึงขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อสมัครเข้าตรวจรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล  โดยมีระยะวลาทั้งสิ้น 14 เดือน  ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดต่างๆ เช่น  การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ Biofach และ Thaiflex  ขณะนี้โครงการกำลังเปิดรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะเข้าร่วมโครงการ  รายละเอียดดังเอกสารแนบ
 
ทางผู้ประกอบการรายใดมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ  สามารถติดต่อได้ที่ คุณวิลาสินี  ภูนุชอภัย (ผู้จัดการโครงการ) โทรศัพท์ 02-298 2767, 081 7833551, email: wilasinee.poonuchaphai@gtz.de  และขอความอนุเคราะหหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ช่วยประชาสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายของท่านด้วยค่ะ
 
ขอแสดงความนับถือ
 
--
Wilasinee Poonuchaphai
Project Manager, Eco-Efficiency Component
Thai-German Partnership Programme for Enterprise Competitiveness

German Technical Cooperation (GTZ)
3rd floor, Pollution Control Department Bld.
Ministry of Natural Resources and Environment
92 Soi Phahonyothin 7, Phyathai, Bangkok 10400
Tel: 02-298 6335, Mobile : 081-783 3551
Fax 02-298 2629
E-mail: wilasinee.poonuchaphai@gtz.de
Website: www.ecoefficiency.info
Website: www.gtz.de/thailand

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ มกท.


ในปี 2551 ที่ผ่านมา มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ้พัฒนามาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และความร่วมมือของ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อ มหาวิทยาล้ัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ มกท. เป็นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าจะพ้นระยะปรับเปลี่ยนได้ไม่เกินปลายปี 2552 นี้

สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ได้ประกาศใช้มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ อย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์  2552 นี้ ดังนั้น ผู้ผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทยที่สนใจระบบมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ มกท. สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงาน  มกท. นะคะ

นอกจากนี้ ในปี 2552 นี้ มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ร่วมกับสำนักงาน มกท. ได้จัดทำ  แผนพัฒนาขอบข่ายมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ให้ครอบคลุมหมวด โคนม สัตว์ปีก และการเลี้ยงผึ้งอินทรีย์ เพิ่มขึ้นอีก และคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปลายปีนี้หรือต้นปี 2553
 

สนทนากับผู้บริโภค

ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มีความน่าเชื่อถืออย่างไร!


ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่ได้ รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Certified Organic Product) เป็นที่ยอมรับและต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพและสิ่ง แวดล้อม เนื่องจาก

ผู้ผลิตผู้ประกอบการสมัครใจที่จะดูแลกระบวนการผลิตของตน โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ (GMOs) รวมถึงพยายามป้องกันผลผลิตอินทรีย์จากการปนเปื้อนอย่างดีที่สุด ตลอดกระบวนการผลิต การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การบรรจุ ทุกขั้นตอนจนถึงมือผู้บริโภค 


ผู้ผลิตผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ ที่สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลจะได้รับการตรวจเยี่ยมจาก "หน่วยงานรับรองภายนอก" ที่ถือว่า มีสถานะเป็นบุคคลที่ 3 (Third party) นั่นคือการเป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค 


ประวัติความเป็นมาของ ACT

มกท. หน่วยงานรับรองไทย มาตรฐานสากล


การพัฒนาระยะที่่่่ 1
ACT หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ื (มกท.) ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2538 โดยการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ห่วงใยสุขภาพของเกษตรกร และผู้่บริโภคที่มีสารเคมีการเกษตรตกค้างอยู่ในผลผลิตเกินกว่าค่ามาตรฐาน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเกษตรและระบบนิเวศโดยรวม

กลุ่มผู้บุกเบิกรุ่นแรกประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน (Alternative Agriculture Network: AAN) ตัวแทนสื่อมวลชน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักวิชาการและผู้บริโภค

ภารกิจแรกของ มกท. ในปี 2539 คือ การจัดทำ "มาตรฐานเกษตรทางเลือก" แต่ต่อมาได้พิจารณาว่า ยังไม่เกิดความปลอดภัยจากสารเคมีเกษตรอย่างแท้จริง เนื่องจากมาตรฐานยังไม่ครอบคลุมสารเคมีการเกษตรอันตรายในการผลิตทุกขั้นตอน ในปีต่อมาจึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศ และเปลี่ยนชื่อเป็น  "มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. 2001" เป็นครั้งแรก

การพัฒนาระยะที่ 2

เพื่อให้การดำเนินงานของ มกท. เป็นไปตามกฎหมายของไทย มกท. จึงได้จดทะเบียนองค์กรเป็น "มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์" และจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง มกท. กับกระทรวงพานิชย์ ในปี พ.ศ.2544


ในปีเดียวกัน มกท. ได้ยื่นสมัครขอการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation Organic Movement: IFOAM) และได้รับการรับรองระบบ (IFOAM Accreditation) เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545

ในปี 2546 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ยังได้รับการยอมรับจาก
สำนักประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (International Organic Accreditation Service: IOAS) ว่าเทียบเท่ากับกฎระเบียบของสภาสหภาพยุโรป (EEC2092/91 ในขณะนั้้น ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น EEC834/2007) และยอมรับว่าระบบการดำเนินงานของ มกท เป็นไปตามระเบียบ ISO/IEC Guide65  ซึ่งทำให้ผลผลิตของสมาชิกผู้ผลิตผู้ประกอบการของ มกท.
ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อหรือผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรป

ในปี 2548 มกท. ก็ได้รับการยอมรับ (Recognition) จากรัฐควีเบค ประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ผลผลิตอินทรีย์ของสมาชิกได้รับการยอมรับของผู้ซื้อในรัฐควีเบคด้วย และในปีเดียวกัน มกท. ก็ได้รับการรับรองระบบการดำเนินงานตามการรับรองของ IFOAM (พืชอินทรีย์) จาก "สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและิอาหารแห่งชาติ (มกอช.)" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของไทย เป็นองค์กรแรก


การพัฒนาระยะที่ 3
นอกจากการให้บริการตรวจสอบรับรองเพื่อการส่งออกแก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการในประเทศไทยแล้ว เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มกท. ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชียพัฒนาโครงการ"งานตรวจต่างประเทศ (ACT Control)" ขึ้น เพื่อให้บริการตรวจแก่หน่วยงานรับรองต่างประเทศที่เข้้ามาให้บริการในภูมิภาคนี้ เช่น KRAV (สวีเดน), Soil Association (อังกฤษ), Biosuisse (สวิสเซอร์แลนด์) เป็นต้น โดยเป็นการตรวจตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานรับรองนั้นๆ


กระบวนการเกษตรอินทรีย์ในโลกได้ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง กระแสตอบรับของผู้บริโภคผลิตผล/ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนให้แก่สมาชิกผูู้้ประกอบการของ มกท. ที่ต้องการส่งออก มกท. จึงริเริ่มโครงการ "One Stop Service" 
 

โดยทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานรับรองพันธมิตรในประเทศอิตาลี (ICEA) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนกับทุกตลาดหลักในโลกแล้ว เช่น   สหรัฐอเมริกา (NOP) ยุโรป (EC834/2007) ญี่ปุ่น (JAS)  ทำให้  มกท. สามารถช่วย   เหลือสมาชิกให้บริการส่งออกผลผลิตอินทรีย์ไปยังทุกตลาดในโลกได้

นอกจากนี้ มกท. ยังได้พัฒนา้ความร่วมมือกับหน่วยงานรับรองเกษตรอินทรีย์พันธมิตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายการให้บริการส่งออกในทำนองเดียวกัน ภายใต้โครงการ "Certification Alliance (Cert All)"  ให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการในหลายประเทศ อาทิเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ฯลฯ เป็นต้น

การพัฒนาระยะที่ 4

กลุ่มประเทศผู้ซื้อหลายประเทศได้เริ่มออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้มงวดมากขึ้น เช่น กลุ่มประชาคมยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และแคนาดา เป็นต้น โดยกำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์จะต้องผ่านการรับรองจากหน่วยรับรองที่ได้รับการยอมรับจากประเทศเหล่านี้เท่านั้น

ดังนั้น มกท. จึงดำเนินการสมัครขอขึ้นทะเบียนโดยตรงกับสหภาพยุโรป และประเทศแคนาดาอีกทางหนึ่งด้วย และขณะนี้ มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ประเทศแคนาดาแล้ว

  ------------------------


วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรม ICS


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
การจัดตั้งระบบควบคุมภายใน (ICS) สำหรับกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์
----------------------------------------------------

ความเป็นมา

ผลิตผล/ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในโลกส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่มาจากเกษตรกรรายย่อย (Small holders)ซึ่งไม่สามารถสมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วยตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็น "กลุ่มผู้ผลิตหรือโครงการ (Grower Group / Project)" ขึ้น เพื่อขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับหน่วยงานรับรองภายนอก เรียกว่าเป็น "การรับรองระบบกลุ่ม (Group  Certification)" โดยกลุ่มจะต้องจัดทำระบบควบคุมคุณภาพ หรือ "ระบบควบคุมภายใน (Internal Control System: ICS)" ขึ้น เพื่อดูแลสมาชิกในกลุ่มของตนเองด้วย

"เกษตรกรรายย่อยที่ทำการผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์ป้อนสู่ตลาดโลก 
มีมากกว่า 150,000 รายทั่วโลก กระจายตัวอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
และด้อยพัฒนาในแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย"



มกท. ได้ทำการตรวจสอบและรับรองผู้ผลิตผู้ประกอบการรายย่อยนับตั้งแต่ได้รับการรับรองระบบจาก IFOAM ในปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบันประมาณปีละ 1,500 - 2,000 ราย ทั้งที่เป็นผู้ผลิตรายเดี่ยวและแบบกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับการรับรองในปัจจุบันมีประมาณ 19 โครงการ (สมาชิก 1,308 ราย) ในพื้นที่การผลิตทั้งที่เป็นอินทรีย์และอยู่ในระยะปรับเปลี่ยนรวมประมาณ 27,965.08 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 86 ของพื้นที่รวม 32,536.77 ไร่ จากจำนวนผู้ที่ได้รับการรับรองจาก มกท.ทั้งสิ้น 67 ราย (ข้อมูล ณ มิถุนายน พ.ศ. 2552) ในขณะที่ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขอรับรองในระบบกลุ่มเพิ่มมากขึ้น 

ผลผลิตพืชอินทรีย์ที่กลุ่มได้รับการรับรอง มีหลากหลายประเภท 
เช่น ข้าว ผัก ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง และสมุนไพร เป็นต้น

    

มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ทำโครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการที่จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ที่มีระบบควบคุมภายใน(ICS)  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547  หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ ผู้จัดการระบบควบคุมภายใน ผู้ตรวจสอบภายในของกลุ่ม รวมถึงผู้ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์



กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30-35 ราย
1. ผู้มีหน้าที่ในการจัดทำระบบความคุมภายในของกลุ่มผู้ผลิตที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.
2. ผู้ตรวจสอบมาตรฐานภายในของกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ มกท.
3. กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ทั่วไปหรือผู้ประกอบการที่สนใจจะจัดตั้งระบบควบคุมภายใน เพื่อสมัครเข้าสู่โครงการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.



สถานที่
สถานที่อบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ: ศูนย์ฝึกอบรม NET จังหวัดสุรินทร์


ระยะเวลาการอบรม
4 วัน คือ วันที่ 28 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2552

เนื้อหาการอบรม

วันที่ 1:

บทบาทของ มกท. กับการสมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่มหรือโครงการ
ความสำคัญของระบบควบคุมภายใน (ICS) สำหรับกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์
- การจัดองค์กรที่เป็นกลุ่ม/โครงการ ในรูปแบบต่างๆ
- การประเมินความเสี่ยงภายในกลุ่ม/โครงการ
- การประเมินความเสี่ยงในระดับฟาร์ม และในกระบวนการบรรจุและแปรรูป
- การฝึกการประเมินความเสี่ยงของกลุ่มเกษตรกรต่างๆ เช่น ผู้ผลิตข้าว ผัก กาแฟ ฯลฯ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายในของกลุ่ม/โครงการ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล เช่น มาตรฐาน IFOAM, EU และ NOP
การฝึกการจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใน


วันที่ 2:
ขั้นตอนการตรวจและรับรองเกษตรกรในกลุ่ม/โครงการ
การรับสมัครเกษตรกรสมาชิก
การตรวจฟาร์มเกษตรกรสมาชิก
เทคนิคการประเมินผลผลิต
กระบวนการรับรองเกษตรกรสมาชิก และการลงโทษ
การจัดทำระบบเอกสารสำหรับระบบ ICS
เอกสารของเกษตรกรสมาชิก
การบริหารจัดการระบบเอกสาร
บุคลากรที่สำคัญในกลุ่ม/โครงการที่มีระบบ ICS
- ผู้ประสานงานโครงการ
- ผู้ตรวจฟาร์มภายใน
- ผู้รับรอง/คณะกรรมการรับรอง
- เจ้าหน้าที่ส่งเสริม ฯลฯ
เทคนิคการจัดฝึกอบรมเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ในกลุ่ม/โครงการ


วันที่ 3:
การฝึกตรวจฟาร์มเกษตรกร ในโครงการเกษตรอินทรีย์ สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าว สุรินทร์ จำกัด
การดูงานการจัดเก็บและการแปรรูปผลผลิตของโครงการ


วันที่ 4:
การฝึกการทำรายงานการตรวจฟาร์ม
การฝึกการรับรองเกษตรกรจากรายงานการตรวจฟาร์ม
การรับซื้อผลผลิต การจัดเก็บ การแปรรูป การส่งออก
การรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
การควบคุมผลผลิตจากฟาร์มถึงโรงเก็บผลผลิตและระบบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การแปรรูปและการส่งออก



----------------------------------------