วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของ ACT

มกท. หน่วยงานรับรองไทย มาตรฐานสากล


การพัฒนาระยะที่่่่ 1
ACT หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ื (มกท.) ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2538 โดยการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ห่วงใยสุขภาพของเกษตรกร และผู้่บริโภคที่มีสารเคมีการเกษตรตกค้างอยู่ในผลผลิตเกินกว่าค่ามาตรฐาน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเกษตรและระบบนิเวศโดยรวม

กลุ่มผู้บุกเบิกรุ่นแรกประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน (Alternative Agriculture Network: AAN) ตัวแทนสื่อมวลชน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักวิชาการและผู้บริโภค

ภารกิจแรกของ มกท. ในปี 2539 คือ การจัดทำ "มาตรฐานเกษตรทางเลือก" แต่ต่อมาได้พิจารณาว่า ยังไม่เกิดความปลอดภัยจากสารเคมีเกษตรอย่างแท้จริง เนื่องจากมาตรฐานยังไม่ครอบคลุมสารเคมีการเกษตรอันตรายในการผลิตทุกขั้นตอน ในปีต่อมาจึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศ และเปลี่ยนชื่อเป็น  "มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. 2001" เป็นครั้งแรก

การพัฒนาระยะที่ 2

เพื่อให้การดำเนินงานของ มกท. เป็นไปตามกฎหมายของไทย มกท. จึงได้จดทะเบียนองค์กรเป็น "มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์" และจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง มกท. กับกระทรวงพานิชย์ ในปี พ.ศ.2544


ในปีเดียวกัน มกท. ได้ยื่นสมัครขอการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation Organic Movement: IFOAM) และได้รับการรับรองระบบ (IFOAM Accreditation) เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545

ในปี 2546 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ยังได้รับการยอมรับจาก
สำนักประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (International Organic Accreditation Service: IOAS) ว่าเทียบเท่ากับกฎระเบียบของสภาสหภาพยุโรป (EEC2092/91 ในขณะนั้้น ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น EEC834/2007) และยอมรับว่าระบบการดำเนินงานของ มกท เป็นไปตามระเบียบ ISO/IEC Guide65  ซึ่งทำให้ผลผลิตของสมาชิกผู้ผลิตผู้ประกอบการของ มกท.
ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อหรือผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรป

ในปี 2548 มกท. ก็ได้รับการยอมรับ (Recognition) จากรัฐควีเบค ประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ผลผลิตอินทรีย์ของสมาชิกได้รับการยอมรับของผู้ซื้อในรัฐควีเบคด้วย และในปีเดียวกัน มกท. ก็ได้รับการรับรองระบบการดำเนินงานตามการรับรองของ IFOAM (พืชอินทรีย์) จาก "สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและิอาหารแห่งชาติ (มกอช.)" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของไทย เป็นองค์กรแรก


การพัฒนาระยะที่ 3
นอกจากการให้บริการตรวจสอบรับรองเพื่อการส่งออกแก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการในประเทศไทยแล้ว เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มกท. ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชียพัฒนาโครงการ"งานตรวจต่างประเทศ (ACT Control)" ขึ้น เพื่อให้บริการตรวจแก่หน่วยงานรับรองต่างประเทศที่เข้้ามาให้บริการในภูมิภาคนี้ เช่น KRAV (สวีเดน), Soil Association (อังกฤษ), Biosuisse (สวิสเซอร์แลนด์) เป็นต้น โดยเป็นการตรวจตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานรับรองนั้นๆ


กระบวนการเกษตรอินทรีย์ในโลกได้ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง กระแสตอบรับของผู้บริโภคผลิตผล/ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนให้แก่สมาชิกผูู้้ประกอบการของ มกท. ที่ต้องการส่งออก มกท. จึงริเริ่มโครงการ "One Stop Service" 
 

โดยทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานรับรองพันธมิตรในประเทศอิตาลี (ICEA) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนกับทุกตลาดหลักในโลกแล้ว เช่น   สหรัฐอเมริกา (NOP) ยุโรป (EC834/2007) ญี่ปุ่น (JAS)  ทำให้  มกท. สามารถช่วย   เหลือสมาชิกให้บริการส่งออกผลผลิตอินทรีย์ไปยังทุกตลาดในโลกได้

นอกจากนี้ มกท. ยังได้พัฒนา้ความร่วมมือกับหน่วยงานรับรองเกษตรอินทรีย์พันธมิตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายการให้บริการส่งออกในทำนองเดียวกัน ภายใต้โครงการ "Certification Alliance (Cert All)"  ให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการในหลายประเทศ อาทิเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ฯลฯ เป็นต้น

การพัฒนาระยะที่ 4

กลุ่มประเทศผู้ซื้อหลายประเทศได้เริ่มออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้มงวดมากขึ้น เช่น กลุ่มประชาคมยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และแคนาดา เป็นต้น โดยกำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์จะต้องผ่านการรับรองจากหน่วยรับรองที่ได้รับการยอมรับจากประเทศเหล่านี้เท่านั้น

ดังนั้น มกท. จึงดำเนินการสมัครขอขึ้นทะเบียนโดยตรงกับสหภาพยุโรป และประเทศแคนาดาอีกทางหนึ่งด้วย และขณะนี้ มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ประเทศแคนาดาแล้ว

  ------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น